วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แนวคิดพื้อนฐานของการสอนภาษา
1.ครูจะต้องทราบว่าเด้กของเราเรียนรู้
2.
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4. เด็กจะเรียนได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบ Whoe Language คือ
4.1สอนอย่างเป็นธรรมชาติฃ
4.2 สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก เช่น เริ่มจากคำศัพท์ที่เด็กรู้จัก คุ้นเคย
4.3สอนให้เด็กสามารถนำ

5.เด็กจะเรียนรู้ได้ดีทีสุดมาจากการตัดสินใจ นั่นหมายถึงพร้อมที่จะรับรู้ในสิ่งที่เด็กอยากรู้ ครูจะต้องทำอย่างไรให้เด็กอยากจะเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
6.
7.ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน
8.ครูต้องสอนทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน เพราะดีที่สุกคือการสอนบนพื้นฐานของธรรมชาติ
9.ครูจะต้องทำให้เรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจสนุกสนาน เช่น สื่อ เทคนิคการสอน วิธีการสอน เป็นต้น

ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1.เริ่ม
2.
3.การประเมินโดยการสังเกต ควรที่จะมีแบบสังเกต
-สามารถจำเนื้อเรื่อง
-สามารถเข้าใจความหมาย บอกซ้ำ เล่าได้
4.
5.เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง
-ทำอย่างไรพ่อแม่จึงจะเข้าใจวิธีที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกได้
6.ส่งเสริมให้เด้กเรียนอย่างกระตือรือร้น
7.สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ
8.
9.อ่านให้เด็กฟังจากหลายๆแหล่งเช่น นิทาน บทความ รายการอาหาร
10.จัดประสบการณ์อ่าน และส่งเสริลงมือกระทำ
11.ส่งเสริมให้เด็กกล้าลองผิด ถูก
12.พัฒนาทางด้านจิตพิสัย และให้เด็กรู้สึกรักในภาษา

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการพุด
-อธิบายถึงภาพที่เห็น
-ทำท่าประกอบการพูด
-เล่านิทาน
-ลำดับเรื่องตามนิทาน
-เรียกชื่อตามนิทาน คือ ตัวละคร
-เรียกชื่อและอธิบายสิ่งของ
-จำและอธิบายสิ่งของ
-อธิบายขนาดและสี

ตัวอยางกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และเขียน
-พ่อแม่ให้เด้กสังเกต
-ชักชวนลูกให้อ่านเครื่องหมายจราจร
- ชักชวนให้ลุกอ่านหนังสือพิมพ์
ชักชวนให้เขียนคำอธิบายภาพของครอบครัวและบันทึกคำพูดของลูก
-เขียนส่วนผสมอานหารและลองปรุง
-ให้เด็กรู้จักการเขียน เช่น เขียนโนต
-ให้ลูกมีส่วนร่วมในการอ่านจดหมาย
-จดรายการส่งของ

การฟัง
-ฟังประกอบหุ่น
-ฟังและแยกเสยง
-ฟังเยงคำคล้องจอง
-ฟังอย่างสร้างสรรค์และวิจารย์
-ฟังแวทำตามคำสั่ง

ขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ขั้นที่1
-คาดเดาภาษาหนังสือ
-แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง
-พยายามใช้ประสบกาณณ์จากการพุดกลับมาเป็นภาษาที่ใช้อ่าน
ขั้นที่2
-แกเขข้อผิดพลาดในประดยคด้วยตนเอง
-ตระหนักว่าตัวหนังสือมีความคงที่
-สามารถชี้บอกคำที่เหมือนกันกันซึ่งอยู่ในหน้าเดียวกัน
-สามารถมองตามตัวอัการบนแผ่นกระดาขนาดใหญ่ได้
ขั้นที่3
-จำคำที่คุ้นเคย
-คาดคะเนความหมายจากบริบท
-ใช้วิการอ่านไปในทิศทางเดียวกันจนเป็นนิสัย
-สามารระบุบอกชื่อตัวอักษรได้เกือบหมด
ขั้นที่4
-เข้าใจเกี่ยวกับ "การเริ่มต้น" และการลงท้าย เมื่อนำมาใช้ในการเดา
-ใช้เสียงช่วงต้นของคำในการเดาคำใหม่ เช่น ก กก ก กระดาษ ก กระดาน
-ใช้คำที่รู้มาแต่งประโยช์
ขั้นที่5
-ใช้เสียนงเริ่มต้นและเสียงควบกล้ำ
-สามารรู้ได้ว่าคำประบด้วยตัวอะไรบ้าง


การเขียน
ขั้นที่ 1
-ขีดเขี่ย
ขั้นที่2
-เส้นเริ่มยาว
ขั้นที่3
เขียนเป็นรูปร่างแต่ไม่เป็นตัวอักษร
ขั้นที่4
-เขียนตัวอักษรและสัญลักษณ์
ขั้นที่5
-เขียนตัวสะกด

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ในการศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสนครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้มีโอกาศศึกษาดูงานนอกสถานศึกษา และเป็นโรงเรียนที่เป็นต้นแบบของการใช้กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนของดิฉัน ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ดิฉันได้รับโอกาศอันดี ในการเข้าไปสังเกตการเรียนการสอน และการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด ได้รับรู้ถึงบรรยากาศของการทำกิจกรรมของครูและเด็กในห้องเรียน
ผู้ริเริ่ม กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
น.ส.ราศรี ทองสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ เป็นนักการศึกษาที่ริเริ่มนำ 6 กิกรรมหลักมาใช้ในการเตรียมความพร้อมของเด็ก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2518 และได้แพร่หลายไปทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาด้านปฐมวัย
กิจกรรมทั้ง 6 แยกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
กิจกรรมเบา
-กิจกรรมการเล่นตามมุม
-กิจกรรมกลางแจ้ง
-กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
กิจกรรมหนัก
-กิจกรรมเสริมประสบการณ์
-กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
-เกมการศึกษา
ห้องเรียนที่ดิฉันได้ศึกษาดูงานนั้นคือ อนุบาล1/3 ห้องครูโบว์ มีนักเรียนทั้งหมด 33 คน
นักศึกษาฝึกสอน 3 คน
ดิฉันได้ไปสังเกตในขณะที่เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยคุณครูแบ่งโต๊ะออกเป็น 4 โต๊ะ
โดยแต่ละโต๊ะจะมีเก้าอี้ว่างอยู่ 1 ตัว เพื่อให้เด็กได้หมุนเวียนกัน
-โต๊ะแรกก็จะเป็นการวาดรูปตามจินตนาการโดยใช้สีเทียน
-โต๊ะที่ 2 เป็นกิจกรรมฉีก ติด ปะ
-โต๊ะที่ 3 เป็นกิจกรรมต่อเติมภาพ โดยใช้กล้วยเป็นแบบ
-โต๊ะที่ 4 เป็นกิจกรรมตัด ปะโดนครูมีการตัดกระดาษเป็นวงกลม แล้วสามเหลี่ยม แล้วให้เด็กทากาวแล้วติด เข้าด้วยกัน และจากนั้นก็นำไม้ไอติมมาติดเป็นด้าม
กิจกรรมที่สองคือ กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ ครูให้เด็กเคลื่อนส่วนต่างๆของร่างกายตามจินตนาการ
โดยมีการเคาะจังหวะเพื่อให้เด็กฟังแล้วเคลื่อนไหวตาม...

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

นิทานเรื่องดาวอะไรเอ่ย (เล่าไปวาดไป)

ดาวอะไรเอ่ย (เล่าไปวาดไป)
...มีคุณยายคนหนึ่ง คุณยายคนนี้เป็นคนจรจัดไม่มีที่อยู่อาศัย คุณยายจึงเดินเร่ร่อนไปเรื่อยๆคุณยายจึงเร่ร่อนไปเรื่อยๆ คุณยายมีถุงผ้าใบใหญ่ประจำตัวอยู่ใบหนึ่ง เวลาที่คุณยายเดินไปไหน ก็จะเก็บสิ่งของต่างๆ ที่ถูกทิ้งตามกองขยะใส่ถุงผ้าของคุณยาย เช่น วิทยุเก่า ถ้วยเก่า จานเก่า แม้แต่เมล็ดพืขต่างๆ คุณยายยัง
เก็บใส่ถุงผ้าของคุณยายเลย
...และเวลาเดินไป คุณยายก็จะบ่นว่า เบื่อๆ ๆ ๆ ๆ เบื่อโลกมนุษย์ เบื่อผู้คนเหลือเกิน อยากอยู่คนเดียว เบื่อจริงๆ
...อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่คุณยายเดินบ่นๆๆๆๆๆไป ในทุ่งนานนั่นเองก็เกิดพายุหมุนมา หมุนเอาตัวคุณยายลอยออกไปนอกโลก
...แล้วไปตกปุ๊กลงที่ดาวดวงหนึ่ง ดาวดวงนั้น เป็นดวงดาวเล็กๆ คุณยายจึงออกสำรวจดูว่ามีใครอาศัยอยู่บนดาวดวงนี้หรือเปล่า
...คุณยายเดินไปด้านหนึ่งของดาว เจอต้นไม่ประหลาดต้นหนึ่ง เพราะทั้งต้นทีใบอยู่เพียงใบเดียว และคุณยายเดินไปอีก ก็พบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก ก็พบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก
คุณยายจึงย้ายมาสำรวจอีกด้านหนึ่งของดวงดาว ก็พบต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก คุณยายจึงเดินต่อไปพบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก
...และคุณยายก็กลับมาที่เดิม คุณยายดีใจมาก เพราะดวงดวานี้ทั้งไม่มีคนอาศัยอยู่เลย
คุณยายจึงลงมือสร้างกระท่อม ทำหน้าต่าง ตั้งเสาโทรทัศน์ ตั้งเสาวิทยุ แล้วคุณยายก็ขุดหลุม ปลูกผักไว้กินที่หน้าบ้านของคุณยายนั่นเอง
...ไม่กี่วันต่อมา ผักที่คุณยายปลูกก็เจริญเติบโตขึ้นจนเต็มลานหน้าบ้านคุณยายไปหมด
คุณยายอยู่บนดวงดาวนั้นด้วยความสุข

ดาวเต่าทอง
ภาพที่1 ผู้วาดภาพประกอบนิทานเรื่องนี้ ไม่ต้องวาดรายละเอียดก็ได้เพียงแต่ใช้จุดแทนเท่านั้น
ภาพที่2 แล้วคุณยายก็โดนพายุพัดไปตกดวงดาวดวงหนึ่ง
ภาพที่3 คุณยายจึงออกสำรวจไปเจอต้นไม้ที่มีใบ อยู่ใบเดียว 3 ต้น
ภาพที่4 และอีก 3 ต้น
ภาพที่5 คุณยายจึงสร้างบ้านเปิดหน้าต่าง 2 บาน ตั้งเสาทีวี และเสาวิทยุ
ภาพที่6 นำเมล็ดผักไปปลูกไว้ลานหน้าบ้าน
ภาพที่7 ขุดคลองและสร้างถนนสำหรับรดน้ำ
ภาพที่8 ต่อมาผักก็โตขึ้นๆ ก็จะได้ภาพดาวเต่าทองประกอบนิทาน

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่5 (7/1/09)

การจัดสภาพแวดล้อม

จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก

- มุมบ้าน เด็กจะเข้ามาในบ้าน พูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดเสื้อผ้า ล้างชามในครัว ทำครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษ ดินสอ ให้บันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงคุณแม่คุณพ่อมีการจดรายการเตรียมไปจ่ายตลาดกับคุณแม่

- มุมหมอ เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ โดยจดการนัดหมายลงในสมุดนัดคนไข้ คุณหมอมีการเขียนใบวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ แม้เด็กจะยังเขียนไม่เป็น แต่ก็จะชอบหัดเขียน

- มุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ใช้เครื่องมือ ชั่ง น้ำหนัก ตวง วัดปริมาณ คำนวณเงินในการใช้จ่าย เงินทอน

- มุมจราจร เด็กได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร การปฏิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ รู้จักทิศทาง ซ้าย ขวา การแสดงบทบาทต่าง ๆ

...มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษ ดินสอ สื่อ อุปกรณ์ หนังสือขั้นตอนการทำงานไว้ชัดเจนแล้วเด็กจะเข้าไปเล่นเรียนรู้ได้เองทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู เด็กจะสนทนาหรือขีดเขียนในสิ่งที่ ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ

กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง

บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ

บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง

การประเมินผล
ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน เป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่4 (21/12/08)

-มีหนังสือวัสดุ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่าน ในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ สามารถมองเห็นได้ทั่วถึง
-แบ่งกลุ่มเด็กๆ ผลัดกันอ่านออกเสียงดังๆ
-ครูสอนอ่านอย่างมีความหมาย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิม ซึ่งครูสามารถประเมินไปพร้อมๆกัน
-ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปอ่านอย่างเงียบๆ
-ให้เด็กเขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ อย่างอิสระ
-ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยให้เด็กเล่าในสิ่งที่เขียน หรือวาดให้ครูฟัง

การเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนา โต้ตอบกัน

พัฒนาการทางการอ่าน
-ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมาย ต่อชีวิตเด็ก เช่น ชื่อ(คน,อาหาร,สิ่งงของที่อยู่รอบตัว)
พัฒนาการในขั้นนี้ กุ๊ดแมน เรียกว่า เป็น "รากเง้าของการอ่าน เขียน "
-ขั้นที่2 ผู้เรียนจะผูกพันธ์กับตัวอักษร
-ขั้นที่3 เริ่มแยกแยะตัวอักษรที่อ่าน
-ขั้นที่4

การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
-ระยะแรก เป็นระยะที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างสัญลักษณ์และใช้ตัวอักษรและที่ไม่ใช้ตัวอักษร
-ระยะที่สอง เขียนมีลักษณะที่ต่างกันสำหรับคำแต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความ โดยการเขียนที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม
-ระยะที่สาม เป็นระยะที่เด็กใช้ลักษณะการออกเสียง ในขณะเขียน และการเขียนของเด็กเริ่มใกล้กับการเขียนตามแบบแผน

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่3 (2/12/08)

กระบวนการ
-การสร้างบรรยายกาศการเรียน มีลักษณะความร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิด ด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยกันทำหน้าที่ในส่วนใด
-การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว(Long-range plans) เพื่อเป็นการวางกรอบความคิดกว้างๆ
-การวางแผนระยะสั้น(Shorth-range plans) โดยเด็กๆและครูจะสามารถใช้ความคิด พูดคุยกันได้
-การฟังและการพูดของเด็ก
เด็กมีโอกาศได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่าเด็กยังไม่สามารถพูดได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดจากแม่ได้ เพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินเสียง ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะทำให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากเสียงที่ได้ยิน
เด็กวัย2-3 ขวบ การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการภาษาที่ดี การสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างในการส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีมากยิ่งขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อความคิด รวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของตนได้ เป็นอย่างดี
-การอ่านและการเขียน
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้โอกาศเด็กเรียนรู้ เพื่อพัฒนาภาษาเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตาม ตัวหนังสือประกอบไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจ ในประเด็นในเรื่องที่อ่าน ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง(องค์รวม)
ครูควรสนทนากับเด็กด้วยภาอย่างง่ายๆด้วยเนื้อหา ที่มีความสัมพันธืกับสิ่งรอบๆตัวเด็ก และครูควรพยายามเชื่อมโยง กับประสบการณ์ของเด็กตลอดเวลา เพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษากับชีวิตจริง
-จึงกล่าวไว้ว่าการเขียนหมายถึง การสื่อสารเมื่อแสดงความคิด ความรู้สึก ออกมาอย่างมีความหมาย
-ครูจะต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบ โดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิด แต่เป็นการ ฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือความสวยงามเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับการเขียนที่ออกมาจากความคิด ภาษาที่ได้จากการฝึกคิด และถ่ายทอดความคิดออกมาเป็น ภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติ จากการฟังมาก ได้อ่านมาก และสามารถถ่ายทอดได้เอง และค่อยมาคำนึงถึงความสวยงาม และความถูกต้องสวยงาม...

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่3 (26/11/08)

เรื่องการจัดประสบการทางภาษา
ภาธรรมชาติ(Whole Language Approach)
-หลักในการจัดประสบการณ์ทางภาษานั้น จะต้องยกหลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้สอดคล้องกับแนวคิดด้วย
การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
ธรรมชาติหมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เป็นทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต
ภาษาหมายถึง สิ่งที่ใช้เพื่อสื่อสารกัน
การสอนภาษาโดยองค์รวม
-โคมิ นิอุส
เขาบอกว่า เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็จะเข้าใจสิ่งของที่เป้นรูปธรรมได้โดย ใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจำวัน
-กุ๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิช
เขาบอกว่า ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้ และมีการพัฒนา ภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจน การที่เด็กๆนั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีความหมาย ในกระบวนการเรียนรู้ทั่วๆไปของเด็กในโรงเรียน
-สรุป ครูทุกคนควรจะต้องตระหนักและวางแผนในการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กให้สอดคล้องกับแนวคิดและ พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
-กระบวนการเรียนรู้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเป็นขั้นตอน ในการพัฒนาภาษาพูด การเขียน เป็นต้น
-ความรู้เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการภาษาพูด อ่าน ฟัง เขียน
-ครูควรคำนึงถึง-พัฒนาการของเด็ก
-ธรรมชาติ
ซึ่งในการจัดประสบการทางภาษาของเด็กนั้นควรที่จะจัดให้สอดคล้องกันอย่างเป็นขั้นเป้นตอน
-จูดิท นิวแมน
การสอนภาษาโดยองค์รวม เป็นปรัญชา ความคิดของผู้สอนเกิดขึ้นจากการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการณ์