วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

นิทานเรื่องดาวอะไรเอ่ย (เล่าไปวาดไป)

ดาวอะไรเอ่ย (เล่าไปวาดไป)
...มีคุณยายคนหนึ่ง คุณยายคนนี้เป็นคนจรจัดไม่มีที่อยู่อาศัย คุณยายจึงเดินเร่ร่อนไปเรื่อยๆคุณยายจึงเร่ร่อนไปเรื่อยๆ คุณยายมีถุงผ้าใบใหญ่ประจำตัวอยู่ใบหนึ่ง เวลาที่คุณยายเดินไปไหน ก็จะเก็บสิ่งของต่างๆ ที่ถูกทิ้งตามกองขยะใส่ถุงผ้าของคุณยาย เช่น วิทยุเก่า ถ้วยเก่า จานเก่า แม้แต่เมล็ดพืขต่างๆ คุณยายยัง
เก็บใส่ถุงผ้าของคุณยายเลย
...และเวลาเดินไป คุณยายก็จะบ่นว่า เบื่อๆ ๆ ๆ ๆ เบื่อโลกมนุษย์ เบื่อผู้คนเหลือเกิน อยากอยู่คนเดียว เบื่อจริงๆ
...อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่คุณยายเดินบ่นๆๆๆๆๆไป ในทุ่งนานนั่นเองก็เกิดพายุหมุนมา หมุนเอาตัวคุณยายลอยออกไปนอกโลก
...แล้วไปตกปุ๊กลงที่ดาวดวงหนึ่ง ดาวดวงนั้น เป็นดวงดาวเล็กๆ คุณยายจึงออกสำรวจดูว่ามีใครอาศัยอยู่บนดาวดวงนี้หรือเปล่า
...คุณยายเดินไปด้านหนึ่งของดาว เจอต้นไม่ประหลาดต้นหนึ่ง เพราะทั้งต้นทีใบอยู่เพียงใบเดียว และคุณยายเดินไปอีก ก็พบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก ก็พบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก
คุณยายจึงย้ายมาสำรวจอีกด้านหนึ่งของดวงดาว ก็พบต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก คุณยายจึงเดินต่อไปพบกับต้นไม้ที่มีลักษณะเหมือนเดิมอีก
...และคุณยายก็กลับมาที่เดิม คุณยายดีใจมาก เพราะดวงดวานี้ทั้งไม่มีคนอาศัยอยู่เลย
คุณยายจึงลงมือสร้างกระท่อม ทำหน้าต่าง ตั้งเสาโทรทัศน์ ตั้งเสาวิทยุ แล้วคุณยายก็ขุดหลุม ปลูกผักไว้กินที่หน้าบ้านของคุณยายนั่นเอง
...ไม่กี่วันต่อมา ผักที่คุณยายปลูกก็เจริญเติบโตขึ้นจนเต็มลานหน้าบ้านคุณยายไปหมด
คุณยายอยู่บนดวงดาวนั้นด้วยความสุข

ดาวเต่าทอง
ภาพที่1 ผู้วาดภาพประกอบนิทานเรื่องนี้ ไม่ต้องวาดรายละเอียดก็ได้เพียงแต่ใช้จุดแทนเท่านั้น
ภาพที่2 แล้วคุณยายก็โดนพายุพัดไปตกดวงดาวดวงหนึ่ง
ภาพที่3 คุณยายจึงออกสำรวจไปเจอต้นไม้ที่มีใบ อยู่ใบเดียว 3 ต้น
ภาพที่4 และอีก 3 ต้น
ภาพที่5 คุณยายจึงสร้างบ้านเปิดหน้าต่าง 2 บาน ตั้งเสาทีวี และเสาวิทยุ
ภาพที่6 นำเมล็ดผักไปปลูกไว้ลานหน้าบ้าน
ภาพที่7 ขุดคลองและสร้างถนนสำหรับรดน้ำ
ภาพที่8 ต่อมาผักก็โตขึ้นๆ ก็จะได้ภาพดาวเต่าทองประกอบนิทาน

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่5 (7/1/09)

การจัดสภาพแวดล้อม

จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก

- มุมบ้าน เด็กจะเข้ามาในบ้าน พูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดเสื้อผ้า ล้างชามในครัว ทำครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษ ดินสอ ให้บันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงคุณแม่คุณพ่อมีการจดรายการเตรียมไปจ่ายตลาดกับคุณแม่

- มุมหมอ เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ โดยจดการนัดหมายลงในสมุดนัดคนไข้ คุณหมอมีการเขียนใบวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ แม้เด็กจะยังเขียนไม่เป็น แต่ก็จะชอบหัดเขียน

- มุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ใช้เครื่องมือ ชั่ง น้ำหนัก ตวง วัดปริมาณ คำนวณเงินในการใช้จ่าย เงินทอน

- มุมจราจร เด็กได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร การปฏิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ รู้จักทิศทาง ซ้าย ขวา การแสดงบทบาทต่าง ๆ

...มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษ ดินสอ สื่อ อุปกรณ์ หนังสือขั้นตอนการทำงานไว้ชัดเจนแล้วเด็กจะเข้าไปเล่นเรียนรู้ได้เองทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู เด็กจะสนทนาหรือขีดเขียนในสิ่งที่ ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ

กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง

บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ

บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง

การประเมินผล
ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน เป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา