วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่4 (21/12/08)

-มีหนังสือวัสดุ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่าน ในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ สามารถมองเห็นได้ทั่วถึง
-แบ่งกลุ่มเด็กๆ ผลัดกันอ่านออกเสียงดังๆ
-ครูสอนอ่านอย่างมีความหมาย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิม ซึ่งครูสามารถประเมินไปพร้อมๆกัน
-ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปอ่านอย่างเงียบๆ
-ให้เด็กเขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ อย่างอิสระ
-ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยให้เด็กเล่าในสิ่งที่เขียน หรือวาดให้ครูฟัง

การเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนา โต้ตอบกัน

พัฒนาการทางการอ่าน
-ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมาย ต่อชีวิตเด็ก เช่น ชื่อ(คน,อาหาร,สิ่งงของที่อยู่รอบตัว)
พัฒนาการในขั้นนี้ กุ๊ดแมน เรียกว่า เป็น "รากเง้าของการอ่าน เขียน "
-ขั้นที่2 ผู้เรียนจะผูกพันธ์กับตัวอักษร
-ขั้นที่3 เริ่มแยกแยะตัวอักษรที่อ่าน
-ขั้นที่4

การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
-ระยะแรก เป็นระยะที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างสัญลักษณ์และใช้ตัวอักษรและที่ไม่ใช้ตัวอักษร
-ระยะที่สอง เขียนมีลักษณะที่ต่างกันสำหรับคำแต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความ โดยการเขียนที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม
-ระยะที่สาม เป็นระยะที่เด็กใช้ลักษณะการออกเสียง ในขณะเขียน และการเขียนของเด็กเริ่มใกล้กับการเขียนตามแบบแผน

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่3 (2/12/08)

กระบวนการ
-การสร้างบรรยายกาศการเรียน มีลักษณะความร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิด ด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยกันทำหน้าที่ในส่วนใด
-การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว(Long-range plans) เพื่อเป็นการวางกรอบความคิดกว้างๆ
-การวางแผนระยะสั้น(Shorth-range plans) โดยเด็กๆและครูจะสามารถใช้ความคิด พูดคุยกันได้
-การฟังและการพูดของเด็ก
เด็กมีโอกาศได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่าเด็กยังไม่สามารถพูดได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดจากแม่ได้ เพราะการสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินเสียง ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะทำให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากเสียงที่ได้ยิน
เด็กวัย2-3 ขวบ การพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการภาษาที่ดี การสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างในการส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีมากยิ่งขึ้น
ภาษามีบทบาทในการสื่อความคิด รวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของตนได้ เป็นอย่างดี
-การอ่านและการเขียน
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้โอกาศเด็กเรียนรู้ เพื่อพัฒนาภาษาเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตาม ตัวหนังสือประกอบไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจ ในประเด็นในเรื่องที่อ่าน ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง(องค์รวม)
ครูควรสนทนากับเด็กด้วยภาอย่างง่ายๆด้วยเนื้อหา ที่มีความสัมพันธืกับสิ่งรอบๆตัวเด็ก และครูควรพยายามเชื่อมโยง กับประสบการณ์ของเด็กตลอดเวลา เพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษากับชีวิตจริง
-จึงกล่าวไว้ว่าการเขียนหมายถึง การสื่อสารเมื่อแสดงความคิด ความรู้สึก ออกมาอย่างมีความหมาย
-ครูจะต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบ โดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิด แต่เป็นการ ฝึกกล้ามเนื้อมือ หรือความสวยงามเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับการเขียนที่ออกมาจากความคิด ภาษาที่ได้จากการฝึกคิด และถ่ายทอดความคิดออกมาเป็น ภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรอย่างธรรมชาติ จากการฟังมาก ได้อ่านมาก และสามารถถ่ายทอดได้เอง และค่อยมาคำนึงถึงความสวยงาม และความถูกต้องสวยงาม...