วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่4 (21/12/08)

-มีหนังสือวัสดุ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่าน ในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ สามารถมองเห็นได้ทั่วถึง
-แบ่งกลุ่มเด็กๆ ผลัดกันอ่านออกเสียงดังๆ
-ครูสอนอ่านอย่างมีความหมาย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิม ซึ่งครูสามารถประเมินไปพร้อมๆกัน
-ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปอ่านอย่างเงียบๆ
-ให้เด็กเขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ อย่างอิสระ
-ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยให้เด็กเล่าในสิ่งที่เขียน หรือวาดให้ครูฟัง

การเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนา โต้ตอบกัน

พัฒนาการทางการอ่าน
-ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมาย ต่อชีวิตเด็ก เช่น ชื่อ(คน,อาหาร,สิ่งงของที่อยู่รอบตัว)
พัฒนาการในขั้นนี้ กุ๊ดแมน เรียกว่า เป็น "รากเง้าของการอ่าน เขียน "
-ขั้นที่2 ผู้เรียนจะผูกพันธ์กับตัวอักษร
-ขั้นที่3 เริ่มแยกแยะตัวอักษรที่อ่าน
-ขั้นที่4

การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
-ระยะแรก เป็นระยะที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างสัญลักษณ์และใช้ตัวอักษรและที่ไม่ใช้ตัวอักษร
-ระยะที่สอง เขียนมีลักษณะที่ต่างกันสำหรับคำแต่ละคำพูด เด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความ โดยการเขียนที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม
-ระยะที่สาม เป็นระยะที่เด็กใช้ลักษณะการออกเสียง ในขณะเขียน และการเขียนของเด็กเริ่มใกล้กับการเขียนตามแบบแผน

ไม่มีความคิดเห็น: